HENG ปิดเที่ยงวันที่ 3.02 บาท เพิ่มขึ้น 54.87% จาก ราคา IPO

ราคาหุ้น HENG ปิดเที่ยงวันที่ 3.02 บาท เพิ่มขึ้น 54.87% หรือเพิ่มขึ้น 1.07 บาท จากราคา IPO 1.95 บาท มูลค่าซื้อขาย 6,134.52 ล้านบาท โดยเปิดเทรดที่ 3.20 บาท ราคาปรับขึ้นสูงสุด 3.38 บาท และราคาต่ำสุด 2.96 บาท

บล.ทิสโก้ ระบุในบทวิเคราะห์ว่า จากการประมาณการเบื้องต้นของเรามูลค่าที่เหมาะสมของ บมจ.เฮงลิสซิ่ง แอนด์ แคปปิตอล (HENG) ในปี 65 อยู่ที่ 2.43 และอิง P/E ที่ 20 เท่า Discount ราว 30% จากบริษัทในอุตสาหกรรม ซึ่งมีการดำเนินธุรกิจ และขนาดใกล้เคียงกันอย่าง SAK (แม้ HENG จะแผนการเติบโตที่ดี แต่ยังมีอัตราการทำกำไรที่ต่ำกว่า และมี D/E ที่สูงกว่า)

แนวโน้มการเติบโตของสินเชื่อของ HENG ในปี 65 จะมีการเร่งตัวขึ้นหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย ทั้งในแง่ของรายได้ที่เพิ่มขึ้น และการลดการตั้งสำรอง (ปัจจุบันมี Coverage Ratio 200%) ประกอบกับการเน้นสินเชื่อจำนำรถมากขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มอัตรากำไรของบริษัทจากมาร์จิ้นที่สูงกว่า

ส่วนการขยายสาขายังคงต้องใช้เวลาทำให้ในระยะสั้นอาจยังไม่เห็นผลมาก แต่คาดจะช่วยหนุนรายได้เมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นในระยะยาว นอกจากนี้ ประเด็นเรื่องการเข้าซื้อหุ้น 10% ของ KBANK ยังเป็นประเด็นที่ต้องติดตาม แต่คาดจะช่วยต่อยอดในการพัฒนาธุรกิจร่วมกัน (โดย KBANK เป็นเจ้าหนี้ของ HENG)

อย่างไรก็ตาม HENG ยังมีความเสี่ยงที่ต้องระวังในการลงทุนอีกมาก เช่น บริษัทยังเหลือลูกหนี้ในโครงการบรรเทาหนี้ราว 13% (จากเดิม 26%) ถือว่าสูง และอาจเป็นปัจจัยเพิ่ม NPL แก่บริษัท, การแข่งขันค่อนข้างรุนแรงเนื่องจากขนาดบริษัทเล็ก และมีสาขาน้อยกว่ามากเมื่อเทียบกับคู่แข่งที่เป็นเจ้าตลาดอย่าง MTC หรือ TIDLOR (HENG มีมูลค่าสินเชื่อทั้งหมด 8.4 พันล้านบาทเทียบกับ MTC ที่ 79.8 พันล้านบาท เป็นสินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์ 61.4 พันล้านบาท และ TIDLOR ที่ 54.8 พันล้านบาท) สินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์ 61.4 พันล้านบาท มากกว่าลำดับ 2 อย่าง TIDLOR ที่ 5.48 หมื่นล้านบาท เป็นสินเชื่อจำนำทะเบียน 41.4 พันล้านบาท

ทั้งนี้ KBANK จะทำการเสนอซื้อหุ้นสามัญเดิมของ HENG จากผู้ถือหุ้นกลุ่มทวีเฮงและกลุ่มพัฒนสินผ่านการซื้อขายหลักทรัพย์บนกระดานรายใหญ่ (Big-Lot Board) จำนวน 381 ล้านหุ้น หรือ 10% ณ ราคา IPO ในวันแรกของการซื้อขาย

HENG ดำเนินธุรกิจโดยการเป็นผู้ให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อ, สินเชื่อจำนำทะเบียนรถทุกประเภท, สินเชื่อที่มีบ้านและที่ดินเป็นหลักประกัน, สินเชื่อส่วนบุคคล, สินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ และเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยและประกันชีวิตแก่ลูกค้ารายย่อยทั่วไป โดยมีสาขาทั้งหมด 451 สาขา (ข้อมูล ณ วันที่ 5 กรกฎาคม 2021) ครอบคลุมทุกภูมิภาคโดยเฉพาะในภาคเหนือ โดยมีมูลค่าลูกหนี้รวมทั้งสิ้น 8.4 พันล้านบาท คิดเป็นสินเชื่อที่มีหลักประกันที่ 93.8% และสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกันที่ 6.2% ส่วนอยู่ที่ NPL ที่ 3.7% (เป้า NPL ที่ 2.9%)

1) รายได้ดอกเบี้ยจากลูกหนี้เงินให้กู้ยืมที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน

2) รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการที่สำคัญ ประกอบด้วย รายได้ค่านายหน้าประกัน รายได้ค่าบริการจัดเก็บ รายได้ค่า เบี้ยปรับล่าช้า และค่าธรรมเนียมจากการออกหนังสือบอกเลิกสัญญา

3) รายได้อื่นที่สำคัญ ประกอบด้วย หนี้สูญได้รับคืน

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (19 ต.ค. 64)

Tags: , , ,