IPOInsight: UBE เปิดพอร์ตเอทานอลรายใหญ่ปั้นกำไรบนเทรนด์นวัตกรรมอาหารโลก

บมจ.อุบล ไบโอ เอทานอล (UBE) นับเป็นหุ้นน้องใหม่ที่ได้รับความสนใจทั้งจากกลุ่มผู้ลงทุนรายบุคคลและกลุ่มผู้ลงทุนสถาบัน เนื่องจากมีความโดดเด่นด้านศักยภาพสูงด้านการแข่งขันทางธุรกิจจากการเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมันสำปะหลังแบบครบวงจรรายใหญ่ของประเทศไทย ขณะเดียวกันยังมีการนำนวัตกรรมการผลิตเข้ามาผสมผสานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ผ่านการลงทุน 3 ธุรกิจหลัก ก่อนมุ่งสู่เป้าหมายยกระดับอัตรากำไรเติบโตอย่างโดดเด่นในอนาคตตามแผยขยายกิจการธุรกิจสินค้าทางเกษตรอินทรีย์ที่มีมูลค่าสูง (High Value Product) และมีความต้องการเป็นอย่างมากบนตลาดโลก

UBE เคาะราคาขายหุ้น IPO ที่ 2.40 บาทต่อหุ้น คาดนำหุ้นเข้าซื้อขายวันแรกในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) 30 ก.ย.นี้

ระดมทุนลุยพัฒนานวัตกรรมอาหาร

นายเดชพนต์ กล่าวว่า เงินที่ได้จากการระดมทุนครั้งนี้ UBE จะนำไปใช้ขยายการกำลังผลิตแป้งฟลาวและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแป้งมันสำปะหลัง ประกอบกับปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเอทานอลจากปัจจุบันที่มีกำลังผลิตรวมทั้งหมดราว 4 แสนลิตรต่อวัน รวมทั้งจะนำบางเงินส่วนไปใช้ลงทุนสารให้ความหวาน เช่น การผลิตสินค้าประเภทไซรัปที่เป็นออแกนิกและโลว์แคลอรี ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่รักสุขภาพ ส่วนที่เหลือจะนำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ เพื่อลดการใช้เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน

สำหรับภาพรวมผลประกอบการครึ่งปีแรก 64 บริษัทมียอดขายราว 2,946.11 ล้านบาท และมีกำไรอยู่ที่ 106.6 ล้านบาทเป็นกำไรที่สูงกว่าปีที่แล้วทั้งปี ขณะที่นโยบายการจ่ายเงินปันผลของบริษัทนั้นจะอยู่ที่ไม่ต่ำกว่า 30% ของกำไรสุทธิจากงบการเงินของบริษัทในแต่ละปีหลังจากหักขาดทุนสะสมยกมา (ถ้ามี) และการจัดสรรทุนสำรองตามกฎหมายแล้ว (โดยมีเงื่อนไขเพิ่มเติม)

เปิดพอร์ตผู้เล่นเอทานอลรายใหญ่เมืองไทย

นายเดชพนต์ เลิศสุวรรณโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ UBE เปิดเผยกับ “อินโฟเควสท์” ว่า พัฒนาการธุรกิจตั้งแต่แรกเริ่มจนมาถึงปัจจุบันก่อตั้งมาแล้วร่วม 17 ปี ช่วงเริ่มเป็นการร่วมมือกันระหว่างกลุ่มธุรกิจในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีที่ประกอบธุรกิจหลัก คือ โรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง

ต่อมาปี 54 ได้เข้าร่วมทุนกับบริษัท ไทยออยล์ เอทานอล จำกัด ในเครือ บมจ.ไทยออยล์ (TOP) และ บมจ.บางจาก คอร์ปอเรชั่น (BCP) ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำด้านการกลั่นน้ำมันและสร้างสรรค์พลังงานสะอาด ผ่านการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านกระบวนการผลิตและระบบการบริหารจัดการโรงงานเอทานอล ส่งผลให้บริษัทฯ ก้าวขึ้นเป็นผู้นำฐานการผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังรายใหญ่ในประเทศ ด้วยกำลังการผลิตเอทานอล 400,000 ลิตรต่อวัน หรือ 146 ล้านลิตรต่อปี ถือเป็นกำลังการผลิตต่อ 1 สายการผลิตที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มผู้ผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลัง ซึ่งสามารถผลิตได้ทั้งเกรดเชื้อเพลิง (Fuel Alcohol) และเกรดอุตสาหกรรม (Industrial Alcohol)

ภายหลังจากนั้นไม่นาน UBE ได้เริ่มเข้าสู่ธุรกิจผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ สินค้าสำคัญ คือ แป้งมันสำปะหลังอินทรีย์ (ออแกนิค) ที่ไม่ใช้สารเคมี ซึ่งปัจจุบันบริษัทเป็นผู้ส่งออกแป้งมันสำปะหลังอินทรีย์อันดับหนึ่งของโลก ปริมาณส่งออกมากกว่า 20,000 ตันต่อปี และเป็นผู้ผลิตเพียงไม่กี่รายในโลกที่สามารถผลิตแป้งมันสำปะหลังออร์แกนิคที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสินค้าออร์แกนิคสากลที่ปลอดสารเคมีตั้งแต่การเพาะปลูกจนถึงกระบวนการแปรรูป

และเมื่อปี 63 มีพัฒนาการที่สำคัญ คือการขอรับใบการวิจัยพัฒนาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ได้แก่ “แป้งฟลาวมันสำปะหลัง” ภายใต้แบรนด์ “Tasuko” และ “Savvy” ที่สามารถใช้ทดแทนแป้งสาลีในอุตสาหกรรมขนมและเบเกอรี่ได้ในทุกมิติ เช่น ขนมปัง เบเกอรี่ เส้นพาสต้า เส้นราเมน ขนมขบเคี้ยว พิซซ่า แป้งชุบทอด เป็นต้น คุณสมบัติเด่น คือ Organic Gluten-Free Non GMO High Fiber Low GI โดยได้ร่วมมือกับสถาบัน สวทช. ผลิตผลิตภัณฑ์นำร่องเป็นแป้งฟลาวผสมเสร็จ (Premix Flour) 3 สูตรได้แก่ แพนเค้ก คุกกี้ และ บราวนี่ จำหน่ายในในซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำ และร้านขายส่วนผสมวัตถุดิบสำหรับทำเบเกอรี่ทั่วประเทศ

ชูยุทธศาสตร์เร่งปั้นกำไรบนเทรนด์อาหารโลก

ภาพรวมโครงสร้างรายได้ UBE ปัจจุบันแบ่งเป็น ธุรกิจการผลิตเอทานอลประมาณ 50%, ธุรกิจการแป้งมันสำปะหลังและแป้งฟลาว และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกประมาณ 50% หากจำแนกเฉพาะกลุ่มผลิตภัณฑ์แป้งนั้นเป็นการส่งออกไปยังต่างประเทศเกือบ 100%

นายเดชพนต์ กล่าวว่า ถึงแม้ว่าธุรกิจเอทานอลจะมีความมั่นคง แต่การเติบโตของอัตรากำไรระยะยาวอาจจะต้องขึ้นอยู่กับการกำหนดของนโยบายภาครัฐ ซึ่งในวันนี้ภาครัฐมีนโยบายสนับสนุนพลังงานทางเลือกประเภทอื่นๆ ด้วย แต่มองเห็นถึงโอกาสการขยายตลาดเอทานอลเกรดอุตสาหกรรม หลังจากรัฐบาลอนุญาตชั่วคราวในการนำเอทานอลมาใช้ในช่วงที่เกิดภาวะแอลกอฮอล์ขาดตลาดหลังจากเกิดการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย ทำให้ปัจจุบันบริษัทได้ผลิตเอทานอลเกรดอุตสาหกรรมสัดส่วน 10% ของกำลังการผลิตเอทานอลทั้งหมด และขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาขยายกำลังการผลิตสายที่ 2 เพื่อเตรียมรองรับการปริมาณการใช้เอทานอลเพิ่มมากขึ้นในอนาคต

แต่ธุรกิจที่มีอัตรากำไรสูงนั่นก็คือ ธุรกิจแป้งมันสำปะหลังอินทรีย์และสินค้าเกษตรอินทรีย์ เป็นยุทธศาสตร์สำคัญของบริษัทที่ต้องการพุ่งเป้าขยายสัดส่วนรายได้เพิ่มขึ้น ตามแผนภายในอีก 5 ปีข้างหน้ากลุ่มธุรกิจแป้งมันสำปะหลังและสินค้าเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้นเป็น 70% และธุรกิจเอทานอลลดลงมาเหลือสัดส่วน 30%

จากข้อมูลเผยแพร่ล่าสุดช่วง 6 เดือนของปีนี้บริษัทมียอดขายแป้งมันสำปะหลังอินทรีย์เติบโตมากกว่ายอดขายที่เคยทำได้ตลอดทั้งปี 63 เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลกช่วยกระตุ้นความต้องการของตลาดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และเชื่อว่าทิศทางต่อเนื่องในครึ่งปีหลังจะยังเติบโตได้ดี ช่วยเสริมศักยภาพการทำกำไรตลอดทั้งปี 64 ได้เป็นอย่างดี เพราะสินค้าแป้งมันสำปะหลังอินทรีย์มีอัตรากำไรที่สูงกว่าสินค้าแป้งมันสำปะหลังถึง 3 เท่าตัว

ส่วนแนวทางการบริหารความเสี่ยงจากการเป็นผู้ส่งออกเบอร์หนึ่งในสินค้าแป้งมันสำปะหลังสัญชาติไทยที่ส่งไปขายในสหรัฐฯ บริษัทวางกลยุทธ์ปิดความเสี่ยงด้วยการใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนเต็ม 100% หรือเต็มจำนวนออเดอร์ลูกค้าที่สั่งซื้อในช่วงเวลานั้นทันที

“ปัจจุบันบริษัทมีการผลิตแป้งมันสำปะหลังอินทรีย์เพียงสัดส่วน 30% ของกำลังการผลิตแป้งมันสำปะหลังทั้งหมดตลอดทั้งปีสามารถผลิตได้เฉลี่ย 1.5 แสนตันต่อปี และตามแผน 5 ปีข้างหน้าบริษัทมีแผนเพิ่มกำลังการผลิตสินค้าแป้งมันสำปะหลังอินทรีย์ขยายเป็นสัดส่วน 70% หรือขยับเพิ่มขึ้นไปมากกว่า 1 แสนตันต่อปี และลดสัดส่วนการผลิตแป้งมันสำปะหลังทั่วไป ส่วนแป้งฟลาวมันสำปะหลังก็จะมีการขยายการผลิตเพิ่มขึ้นให้มีความหลากหลายตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคทั่วโลก”นายเดชพนต์ กล่าว

นายเดชพนต์ กล่าว

ระดมทุนลุยพัฒนานวัตกรรมอาหาร

นายเดชพนต์ กล่าวว่า เงินที่ได้จากการระดมทุนครั้งนี้ UBE จะนำไปใช้ขยายการกำลังผลิตแป้งฟลาวและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแป้งมันสำปะหลัง ประกอบกับปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเอทานอลจากปัจจุบันที่มีกำลังผลิตรวมทั้งหมดราว 4 แสนลิตรต่อวัน รวมทั้งจะนำบางเงินส่วนไปใช้ลงทุนสารให้ความหวาน เช่น การผลิตสินค้าประเภทไซรัปที่เป็นออแกนิกและโลว์แคลอรี ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่รักสุขภาพ ส่วนที่เหลือจะนำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ เพื่อลดการใช้เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน

สำหรับภาพรวมผลประกอบการครึ่งปีแรก 64 บริษัทมียอดขายราว 2,946.11 ล้านบาท และมีกำไรอยู่ที่ 106.6 ล้านบาทเป็นกำไรที่สูงกว่าปีที่แล้วทั้งปี ขณะที่นโยบายการจ่ายเงินปันผลของบริษัทนั้นจะอยู่ที่ไม่ต่ำกว่า 30% ของกำไรสุทธิจากงบการเงินของบริษัทในแต่ละปีหลังจากหักขาดทุนสะสมยกมา (ถ้ามี) และการจัดสรรทุนสำรองตามกฎหมายแล้ว (โดยมีเงื่อนไขเพิ่มเติม)

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (23 ก.ย. 64)

Tags: , , , ,