เงินบาทเปิด 32.93 แข็งค่าหลุด 33 บาท สัปดาห์นี้จับตาตัวเลขเงินเฟ้อไทย-ประชุมเฟด-BoE

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงิน บาทเปิดเช้านี้ที่ระดับ 32.93 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากปิดสัปดาห์ก่อนที่ระดับ 33.05 บาท/ดอลลาร์

โดยตั้งแต่ช่วงคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา รวมถึงช่วงวันจันทร์ ซึ่งเป็นวันหยุดทำการของตลาดการเงินฝั่งไทย เงินบาท (USDTHB) ทยอยแข็งค่าขึ้นในลักษณะ Sideways Down

สำหรับแนวโน้มของค่าเงินบาทนั้น มองว่า การแข็งค่าของเงินบาทในช่วงวันศุกร์ที่ผ่านมา อาจชะลอลง เปิดโอกาสให้เงิน บาทเสี่ยงทยอยอ่อนค่าลง “Sideways Up” ท่ามกลางแรงกดดันจากโฟลว์ธุรกรรมจ่ายเงินปันผลให้กับบรรดานักลงทุนต่างชาติ อีกทั้งเงิน ดอลลาร์อาจพอได้แรงหนุนอยู่ แต่ภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาด อาจเพิ่มแรงซื้อสินทรัพย์ไทยได้ ทั้งนี้ ควรจับตาทิศทางราคาทองคำ เงินหยวนจีน อย่างใกล้ชิด

ปัจจัยในประเทศที่จะมีการรายงานอัตราเงินเฟ้อวันนี้ เราประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อ (CPI) เดือนเม.ย.68 จะชะลอลงสู่ ระดับ -0.1%y/y (-0.1% m/m) ตามการปรับตัวลงของราคาพลังงานเป็นสำคัญ แต่อัตราเงินเฟ้อ “ติดลบ” ดังกล่าว จะไม่ใช่ปัจจัย สำคัญในการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และยังไม่ได้สะท้อนถึงภาวะเงินฝืด

ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศในสัปดาห์นี้ ควรจับตาผลการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) และผลการประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (BoE)

นายพูน คาดว่าวันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.85-33.05 บาท/ดอลลาร์

ปัจจัยสำคัญ

  • เงินเยน อยู่ที่ระดับ 144.03 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 144.51 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.1285 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.1350 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท. อยู่ที่ระดับ 33.267 บาท/ดอลลาร์
  • กระทรวงพาณิชย์ รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) เดือนเม.ย.68 ต้องติดตามว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังชะลอตัวลงต่อ เนื่องจากเดือนก่อนหรือไม่ โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อเดือนเม.ย. จะลดลง -0.1% ขณะที่ล่าสุด เมื่อเดือนมี.ค.68 อัตราเงินเฟ้อทั่วไป อยู่ที่ 0.84% ซึ่งต่ำกว่ากรอบเป้าหมายนโยบายการเงิน (กรอบเงินเฟ้อ) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และกระทรวงการคลัง ที่ตั้งไว้ที่ 1-3%
  • “นักเศรษฐศาสตร์” ห่วงไทย กำลังเจอ “กับดักสภาพคล่อง” แม้ลดดอกเบี้ยนโยบาย แต่สินเชื่อไม่โต เหตุธนาคาร ไม่ ปล่อยกู้ ธปท.รับ “เอกชน” ไม่ต้องการกู้สินเชื่อ ไม่อยากลงทุนเพิ่ม หลังไม่มั่นใจเศรษฐกิจ “ซีไอเอ็มบี” ห่วงสภาพคล่อง หลังลด ดอกเบี้ย แต่สินเชื่อไม่โต เหตุเจอปัญหาความเชื่อมั่น ต้องแก้ด้วยมาตรการทางการคลัง “กสิกรไทย” ชี้สงครามการค้าทรัมป์ ส่งผลความ ไม่แน่นอนสูง 
  • เศรษฐกิจซบเซา-แบงก์เข้ม ไม่ปล่อยกู้ ซ้ำเติม “สภาพคล่องธุรกิจ” หลังช่องทางระดมทุนต่างๆ เริ่มตึงตัว “ไทยบีเอ็ม เอ” รับออกหุ้นกู้ “ยากขึ้น” จนบางอุตสาหกรรมออกแล้ว “ขายไม่หมด” แต่ดอกเบี้ย “ขาลง” หุ้นกู้ยังเป็นทางเลือกที่ดี “บล.เอเซีย พลัส” ชี้แบงก์ไม่ปล่อยกู้-หุ้นกู้ระดมทุนยากขึ้น มองไม่กระทบเป็นวงกว้าง เหตุกลไก “ตลาดการเงิน” และ “ตลาดทุน” ยังมีหลายลู่ทางให้ ระดมเงินทุนได้อยู่ “บล.ซีจีเอส-อินเตอร์เนชันแนล” แนะบริหารกระแสเงินสดให้ดี รับมือเศรษฐกิจซบเซา
  • สศค.ประเมินความเสี่ยงทางการคลัง หลังจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าช่วงก่อนวิกฤติโควิด-19 แนะรัฐบาลเร่งลดขาดดุล โดย ปฏิรูปโครงสร้างและเพิ่มประสิทธิภาพจัดเก็บรายได้ ทบทวนมาตรการยกเว้น-ลดหย่อนให้มีเท่าที่จำเป็น ไม่เบียดบังรายจ่ายลงทุน ซึ่งเป็น ส่วนสำคัญกระตุ้นเศรษฐกิจ และพัฒนาประเทศระยะยาว
  • นักลงทุนติดตามความคืบหน้าในการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และบรรดาประเทศคู่ค้าในเอเชีย รวมทั้งจับตาสกุลเงิน ในเอเชียที่แข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ
  • รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ คาดว่าจะเห็นความคืบหน้าในการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนในช่วงไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า โดย ระบุว่า มาตรการขึ้นภาษีจีนของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ที่ระดับ 145% นั้นไม่สามารถดำเนินต่อได้ในระยะยาว แต่ไม่ได้ยืนยันว่า ขณะนี้ มีการเจรจาการค้าอย่างจริงจังกับจีนเกิดขึ้นหรือไม่
  • สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์ (5 พ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลว่ามาตรการภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ขณะที่นักลงทุนจับตาการประชุม นโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในสัปดาห์นี้
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นในวันจันทร์ (5 พ.ค.) โดยได้ปัจจัยหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ และจาก แรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย ขณะที่นักลงทุนจับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในสัปดาห์นี้
  • ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯในวันนี้ (6 พ.ค.) ได้แก่ ยอดนำเข้า ยอดส่งออก และดุลการค้าเดือนมี.ค.
  • นักลงทุนจับตาการประชุมนโยบายการเงินของเฟดในวันอังคารและวันพุธ (6-7 พ.ค.) ขณะที่ตลาดคาดการณ์เป็นวงกว้าง ว่าคณะกรรมการเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 4.25-4.50% ในการประชุมครั้งนี้ นอกจากนี้ นักลงทุนยังรอดูการแถลงข่าวของเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้แนวโน้มเศรษฐกิจและทิศทางอัตราดอกเบี้ย

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (06 พ.ค. 68)

Tags: , ,