ผลสำรวจ CEO ส่วนใหญ่คาดตรึงราคาสินค้าได้ 3-4 เดือนหลังราคาพลังงานดันต้นทุนพุ่ง

นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจ FTI Poll ครั้ง
ที่ 12 ในเดือนพ.ย. 64 ภายใต้หัวข้อ "สินค้าแพง ต้นทุนพุ่ง กระทบเศรษฐกิจไทยแค่ไหน?" พบว่า ผู้บริหาร ส.อ.ท. 
มองว่า ปัจจัยที่ทำให้ต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้นจนส่งผลกระทบต่อราคาสินค้านั้น มาจากราคาน้ำมันและพลังงานโลก
ปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ และค่าระวางเรือที่อยู่ในระดับสูง 
          
ซึ่งผลกระทบดังกล่าว ทำให้รายได้ของผู้ประกอบการลดลง 10-20% และคาดการณ์ว่าแนวโน้มต้นทุนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมใน 3-6 เดือนข้างหน้าจะยังคงปรับเพิ่มขึ้นอีก 10-20% 
          
ดังนั้น จึงเสนอขอให้ภาครัฐช่วยเหลือในการพยุงราคาพลังงาน ตรึงราคาค่าไฟฟ้า (FT) และลดค่าสาธารณูปโภค(ไฟฟ้า, 
น้ำประปา) เพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจ ทั้งในส่วนของผู้ประกอบการและประชาชน พร้อมทั้งแนะให้ผู้ประกอบการมีการนำ
เทคโนโลยีมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม
          
จากการสำรวจผู้บริหาร ส.อ.ท. (CEO Survey) จำนวน 160 คน ครอบคลุมผู้บริหารจาก 45 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 76 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด มีสรุปผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 12 จำนวน 8 คำถาม ดังนี้
          - ปัจจัยที่ทำให้ต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้นจนส่งผลกระทบต่อราคาสินค้า
          อันดับที่ 1 : ราคาน้ำมันและพลังงานโลกปรับตัวสูงขึ้น                          87.5%
          อันดับที่ 2 : ปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และค่าระวางเรือที่ปรับตัวสูงขึ้น          61.9%
          อันดับที่ 3 : ความผันผวนของค่าเงินบาท และนโยบายด้านการเงินการคลัง          53.1%
          อันดับที่ 4 : การขาดแคลนวัตถุดิบจากผลกระทบของ Supply Chain Disruption   45.0% 
                   
          - จากราคาวัตถุดิบและพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ธุรกิจมีต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์ 
          อันดับที่ 1 : 10-20%                                                 55.6% 
          อันดับที่ 2 : 30-50%                                                 21.9%
          อันดับที่ 3 : ต่ำกว่า 10%                                              15.6%
          อันดับที่ 4 : มากกว่า 50%                                              4.4%

          - จากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากข้อ 2 ส่งผลต่อผลประกอบการอย่างไร 
          อันดับที่ 1 : รายได้ลดลง 10-20%                                       44.4%
          อันดับที่ 2 : รายได้ลดลง น้อยกว่า 10%                                   26.3%
          อันดับที่ 3 : รายได้ลดลง 30-50%                                       15.6%
          อันดับที่ 4 : ไม่ส่งผลกระทบต่อผลประกอบการ                               10.6%
          อันดับที่ 5 : รายได้ลดลง 10-20%                                        3.1%

          - ภาครัฐควรมีมาตรการช่วยเหลือ และบรรเทาผลกระทบจากต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างไร 
          อันดับที่ 1 : พยุงราคาพลังงาน, ตรึงราคาค่าไฟฟ้า (FT)                      80.6% 
                    และลดค่าสาธารณูปโภค (ไฟฟ้า, น้ำประปา)
          อันดับที่ 2 : มาตรการทางภาษี เช่น ลดหย่อนภาษี, งดการหักภาษี ณ ที่จ่าย,        67.5%
                    ขยายระยะผ่อนชำระภาษีเงินได้, เร่งคืนภาษี                                        
          อันดับที่ 3 : ลดค่าธรรมเนียม/ขั้นตอนในการส่งออกสินค้า                       56.9%
                    และเร่งแก้ไขปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์
          อันดับที่ 4 : สนับสนุนสินค้า Made in Thailand ผ่านการ                     46.3%
                    จัดซื้อจัดจ้างภาครัฐและเอกชน          

          - ภาคอุตสาหกรรมควรปรับตัวรับมือกับภาวะต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างไร
          อันดับที่ 1 : นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต                  75.6%
                    และการพัฒนาผลิตภัณฑ์                    
          อันดับที่ 2 : การประหยัดพลังงานและการใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิต           65.6%
          อันดับที่ 3 : นำระบบบริหารจัดการมาช่วยในการลดต้นทุนการผลิต                 60.0%
                    เช่น LEAN Manufacturing
          อันดับที่ 4 : ปรับแผนการผลิตเพื่อลดต้นทุน                                  58.1%
                    และเพิ่มทางเลือกของแหล่งวัตถุดิบ

          - จากภาวะสินค้าแพง มาตรการใดจะช่วยบรรเทาผลกระทบต่อผู้บริโภค
          อันดับที่ 1 : ลดค่าสาธารณูปโภค (ไฟฟ้า, น้ำประปา) และตรึงราคาพลังงาน        79.4%
          อันดับที่ 2 : ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และขยายเวลายื่นภาษี              58.8%
          อันดับที่ 3 : สนับสนุนเงินช่วยเหลือ ลดค่าครองชีพ เช่น                        55.6%
                    โครงการคนละครึ่ง การจำหน่ายสินค้าธงฟ้า
          อันดับที่ 4 : พักชำระหนี้ หรือ ปรับโครงสร้างหนี้เพื่อแก้ปัญหาหนี้เสีย               51.9%

          - ภาคอุตสาหกรรมสามารถแบกรับภาระต้นทุนที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยไม่กระทบกับราคาสินค้าได้นานเท่าไร 
          อันดับที่ 1 : 3-4 เดือน                                               41.9% 
          อันดับที่ 2 : 1-2 เดือน                                               36.3%
          อันดับที่ 3 : จำเป็นต้องปรับขึ้นราคาสินค้าทันที                               18.1%
          อันดับที่ 4 : น้อยกว่า 1 เดือน                                           3.7%

          - คาดการณ์แนวโน้มต้นทุนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมใน 3-6 เดือนข้างหน้า เมื่อเปรียบเทียบกับปัจจุบัน 
          อันดับที่ 1 : ต้นทุนเพิ่มขึ้น 10-20%                                       65.6% 
          อันดับที่ 2 : ต้นทุนเพิ่มขึ้น มากกว่า 30%                                   17.5%
          อันดับที่ 3 : ต้นทุนยังคงทรงตัว                                          16.3%
          อันดับที่ 4 : ต้นทุนลดลง 10-20%                                         0.6%

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (01 ธ.ค. 64)

Tags: , , , , , , ,